เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค 4.สาปุคิยาสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททิยะ คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นอย่างนั้น ภัททิยะ
คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นอย่างนี้ ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจด้วยมายาที่เป็นเหตุ
ให้กลับใจเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่กษัตริย์ตลอดกาลนาน ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง ... แพศย์ทั้งปวง ...
ศูทรทั้งปวงจะพึงกลับใจด้วยมายาที่เป็นเหตุให้กลับใจนี้เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้
กุศลธรรมเกิดขึ้น ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ศูทรทั้งปวงตลอดกาลนาน
ถ้าแม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์จะพึงกลับใจด้วยมายาที่เป็นเหตุให้กลับใจนี้เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ตลอดกาลนาน
ภัททิยะ ถ้าแม้พวกผู้มั่งคั่งเหล่านี้จะพึงกลับใจด้วยมายาที่เป็นเหตุให้กลับใจนี้
เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
ผู้มั่งคั่งเหล่านี้ตลอดกาลนาน ถ้าผู้มั่งคั่งเหล่านี้ตั้งใจ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้เป็น
มนุษย์ธรรมดา”

ภัททิยสูตรที่ 3 จบ

4. สาปุคิยาสูตร
ว่าด้วยโกฬิยบุตรชาวสาปุคิยนิคม

[194] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ในนิคมของโกฬิยราชสกุลชื่อสาปุคะ แคว้น
โกฬิยะ1 ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวสาปุคิยนิคม2จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับโกฬิยบุตร
ชาวสาปุคิยนิคมดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค 4.สาปุคิยาสูตร

“ท่านพยัคฆปัชชะ1ทั้งหลาย องค์ความเพียรเพื่อปาริสุทธิ (ความบริสุทธิ์) 4
ประการพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
องค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ (ความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ) เพื่อดับทุกข์ (ความทุกข์กาย) และ
โทมนัส (ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
องค์ความเพียรเพื่อปาริสุทธิ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ
2. องค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ
3. องค์ความเพียรเพื่อทิฏฐิปาริสุทธิ
4. องค์ความเพียรเพื่อวิมุตติปาริสุทธิ

องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ2 สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า สีลปาริสุทธิ
ความพอใจ3 ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่
ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า ‘เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น
ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักประคับประคองสีลปาริสุทธิที่บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ
ด้วยปัญญา’ ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย นี้เรียกว่า องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ
องค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ4 บรรลุจตุตถฌานอยู่ นี้เรียกว่า
จิตตปาริสุทธิ